- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 11-17 พฤศจิกายน 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.704 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 24.037 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.01 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.970 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.99 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,022 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,298 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,269 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,378 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 36,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 38,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.19
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,370 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 884 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,476 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 506 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,445 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,995 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 450 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,652 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,196 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 456 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.4756 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันการผลิตและการค้าภาคเกษตรของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่เกี่ยวกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย พบว่า ภาคเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป็นอันดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 15.23 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด รองจากภาคพลังงานที่มีสัดส่วนร้อยละ 69.96 โดยการปลูกข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดถึงร้อยละ 50.58 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรทั้งหมด ดังนั้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมทั้งกฎระเบียบและมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกควรให้ความสำคัญและเร่งส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวคาร์บอนต่ำเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และรักษาความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในตลาดข้าวพรีเมียม นอกจากนี้ การผลิตข้าวคาร์บอนต่ำยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับกฎระเบียบและมาตรการระหว่างประเทศที่นำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า สอดรับกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ทั้งนี้ เวียดนามซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยได้มีการส่งเสริมการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำแล้วเช่นกัน และมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย จึงเข้าถึงตลาดข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า เนื่องจากเวียดนามมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรปที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด อาจทำให้ข้าวเวียดนามเจาะตลาดยุโรปได้ดีกว่าข้าวไทย อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของตลาดข้าวโลกในปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไทยจึงควรมุ่งพัฒนาการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ด้วยการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าข้าวให้สูงขึ้น
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้าวคาร์บอนต่ำ คือ ข้าวที่ผลิตและแปรรูปด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ไม่เผาฟางข้าว
ที่มา ไทยพีบีเอส (Thai PBS), ไทยรัฐออนไลน์
2) เวียดนาม
จากข้อมูลของกรมศุลกากรมเวียดนาม ระบุว่า ในเดือนตุลาคม 2567 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 800,000 ตัน มูลค่า 505 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (17,410.18 ล้านบาท) ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – ตุลาคม) เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 7.8 ล้านตัน มูลค่า 4,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (167,551.42 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ 23.4 ตามลำดับ โดยมีราคาส่งออกเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม ประมาณตันละ 626.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 21,588.62 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ต่อปี สำหรับปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 8.13 ล้านตัน เมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตของการส่งออกข้าวในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 และกำลังการผลิตในประเทศคาดว่า การส่งออกข้าวในปี 2567 จะสูงกว่าสถิติการส่งออกข้าวในปี 2566 เนื่องจากช่วงปลายเดือนตุลาคม 2567 เวียดนามเสนอขายข้าวขาว 5% (White rice 5% broken) ในราคาตันละ 520 – 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,927 – 18,100 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีราคาตันละ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 18,341 บาท)
นอกจากนี้ วารสารตลาดข้าวนานาชาติ (SS Rice News) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 หน่วยงานด้านโลจิสติกส์แห่งชาติของอินโดนีเซีย (The State Logistics Agency – BULOG) ได้เปิดประมูลซื้อข้าวจากต่างประเทศรอบใหม่ ซึ่ง BULOG มีเป้าหมายที่จะจัดหาข้าวขาว 5% จำนวน 500,000 ตัน จากอินเดีย เวียดนาม ไทย กัมพูชา เมียนมา และปากีสถาน โดยกำหนดส่งมอบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567 และคาดว่าเวียดนามจะได้รับคำสั่งซื้อข้าวจำนวน 85,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 17 ของการประมูลข้าวทั้งหมด
ของอินโดนีเซีย ทั้งนี้ S&P Global Commodity Insights ได้ประเมินราคาของข้าวขาว 5% ของประเทศต่างๆ
ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2567 ดังนี้
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.4756 บาท
3) อิหร่าน
สถานการณ์ตลาดข้าวของอิหร่านมีความผันผวนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น
มีสาเหตุมาจาก 1) เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในประเทศ ซึ่งมีการใช้มาตรการห้ามนำเข้าข้าว (22 กรกฎาคม – 20 พฤศจิกายน 2567) 2) ข้าวนำเข้าปริมาณ 100,000 ตัน ยังค้างอยู่ที่กรมศุลกากรอิหร่าน ซึ่งไม่สามารถขนถ่ายได้ทันก่อนเริ่มมาตรการห้ามนำเข้าข้าว 3) ความเห็นต่างระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของอิหร่าน โดยหน่วยงานภาครัฐเห็นว่าผลผลิตภายในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการและไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศในปริมาณมากๆ เพื่อคุ้มครองเกษตรกรและการผลิตภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการป้องกันการไหลออกของเงินงบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในการนำเข้า
จากการใช้มาตรการห้ามนำเข้าข้าวดังกล่าว ทางสมาคมผู้นำเข้าอิหร่าน (The Iranian Rice Importers Association) ได้ออกแถลงการณ์ แสดงการคัดค้านต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการจำกัดการนำเข้าข้าว โดยเปิดเผยว่าอย่าได้ผูกมัดการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศไว้กับปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในประเทศ อีกทั้งความแตกต่างด้านรสนิยม อำนาจการซื้อข้าวของประชาชน และการขาดแคลนข้าวในตลาดจะส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งนี้ สมาคมผู้นำเข้าข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้าวในประเทศและข้าวนำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์สองชนิดที่แตกต่างกัน และมีเป้าหมายกลุ่มตลาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยข้าวนำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาต่ำกว่าข้าวอิหร่านมาก สามารถตอบสนอง
ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย และกลุ่มคนชั้นกลาง ดังนั้น กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในสังคมจึงนิยมบริโภคข้าวนำเข้า ในทางกลับกันการจำกัดการนำเข้าจะทำให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น และไม่สามารถควบคุมได้เหมือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยซื้อข้าวได้น้อยลง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เนื่องจาก
ข้าวถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานที่สำคัญของชาวอิหร่าน นอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าข้าว เนื่องจากการห้ามนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งและชายแดนทางภาคใต้ของประเทศที่บริโภคข้าวนำเข้า ขณะที่สมาชิกผู้แทนราษฎรของจังหวัดทางภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหลักของประเทศไม่เห็นด้วยต่อการอนุญาตนำเข้าข้าว เนื่องจากภายในประเทศยังมีข้าวเหลือในสต็อกอีกเป็นจำนวนมาก
ที่มา กรมส่งเสริมการส่งออกระหว่างประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.704 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 24.037 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.01 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.970 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.99 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,022 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,298 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,269 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,378 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 36,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 38,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.19
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,370 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 884 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,476 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 506 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,445 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,995 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 450 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,652 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,196 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 456 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.4756 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันการผลิตและการค้าภาคเกษตรของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่เกี่ยวกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย พบว่า ภาคเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป็นอันดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 15.23 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด รองจากภาคพลังงานที่มีสัดส่วนร้อยละ 69.96 โดยการปลูกข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดถึงร้อยละ 50.58 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรทั้งหมด ดังนั้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมทั้งกฎระเบียบและมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกควรให้ความสำคัญและเร่งส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวคาร์บอนต่ำเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และรักษาความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในตลาดข้าวพรีเมียม นอกจากนี้ การผลิตข้าวคาร์บอนต่ำยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับกฎระเบียบและมาตรการระหว่างประเทศที่นำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า สอดรับกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ทั้งนี้ เวียดนามซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยได้มีการส่งเสริมการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำแล้วเช่นกัน และมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย จึงเข้าถึงตลาดข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า เนื่องจากเวียดนามมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรปที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด อาจทำให้ข้าวเวียดนามเจาะตลาดยุโรปได้ดีกว่าข้าวไทย อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของตลาดข้าวโลกในปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไทยจึงควรมุ่งพัฒนาการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ด้วยการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าข้าวให้สูงขึ้น
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้าวคาร์บอนต่ำ คือ ข้าวที่ผลิตและแปรรูปด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ไม่เผาฟางข้าว
ที่มา ไทยพีบีเอส (Thai PBS), ไทยรัฐออนไลน์
2) เวียดนาม
จากข้อมูลของกรมศุลกากรมเวียดนาม ระบุว่า ในเดือนตุลาคม 2567 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 800,000 ตัน มูลค่า 505 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (17,410.18 ล้านบาท) ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – ตุลาคม) เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 7.8 ล้านตัน มูลค่า 4,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (167,551.42 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ 23.4 ตามลำดับ โดยมีราคาส่งออกเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม ประมาณตันละ 626.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 21,588.62 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ต่อปี สำหรับปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 8.13 ล้านตัน เมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตของการส่งออกข้าวในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 และกำลังการผลิตในประเทศคาดว่า การส่งออกข้าวในปี 2567 จะสูงกว่าสถิติการส่งออกข้าวในปี 2566 เนื่องจากช่วงปลายเดือนตุลาคม 2567 เวียดนามเสนอขายข้าวขาว 5% (White rice 5% broken) ในราคาตันละ 520 – 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,927 – 18,100 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีราคาตันละ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 18,341 บาท)
นอกจากนี้ วารสารตลาดข้าวนานาชาติ (SS Rice News) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 หน่วยงานด้านโลจิสติกส์แห่งชาติของอินโดนีเซีย (The State Logistics Agency – BULOG) ได้เปิดประมูลซื้อข้าวจากต่างประเทศรอบใหม่ ซึ่ง BULOG มีเป้าหมายที่จะจัดหาข้าวขาว 5% จำนวน 500,000 ตัน จากอินเดีย เวียดนาม ไทย กัมพูชา เมียนมา และปากีสถาน โดยกำหนดส่งมอบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567 และคาดว่าเวียดนามจะได้รับคำสั่งซื้อข้าวจำนวน 85,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 17 ของการประมูลข้าวทั้งหมด
ของอินโดนีเซีย ทั้งนี้ S&P Global Commodity Insights ได้ประเมินราคาของข้าวขาว 5% ของประเทศต่างๆ
ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2567 ดังนี้
ประเทศ | ราคาต่อตัน | |
(ดอลลาร์สหรัฐฯ) | (บาท) | |
เวียดนาม | 519 | 17,893 |
ไทย | 489 | 16,859 |
ปากีสถาน | 460 | 15,859 |
อินเดีย | 464 | 15,997 |
เมียนมา | 500 | 17,238 |
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.4756 บาท
3) อิหร่าน
สถานการณ์ตลาดข้าวของอิหร่านมีความผันผวนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น
มีสาเหตุมาจาก 1) เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในประเทศ ซึ่งมีการใช้มาตรการห้ามนำเข้าข้าว (22 กรกฎาคม – 20 พฤศจิกายน 2567) 2) ข้าวนำเข้าปริมาณ 100,000 ตัน ยังค้างอยู่ที่กรมศุลกากรอิหร่าน ซึ่งไม่สามารถขนถ่ายได้ทันก่อนเริ่มมาตรการห้ามนำเข้าข้าว 3) ความเห็นต่างระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของอิหร่าน โดยหน่วยงานภาครัฐเห็นว่าผลผลิตภายในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการและไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศในปริมาณมากๆ เพื่อคุ้มครองเกษตรกรและการผลิตภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการป้องกันการไหลออกของเงินงบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในการนำเข้า
จากการใช้มาตรการห้ามนำเข้าข้าวดังกล่าว ทางสมาคมผู้นำเข้าอิหร่าน (The Iranian Rice Importers Association) ได้ออกแถลงการณ์ แสดงการคัดค้านต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการจำกัดการนำเข้าข้าว โดยเปิดเผยว่าอย่าได้ผูกมัดการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศไว้กับปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในประเทศ อีกทั้งความแตกต่างด้านรสนิยม อำนาจการซื้อข้าวของประชาชน และการขาดแคลนข้าวในตลาดจะส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งนี้ สมาคมผู้นำเข้าข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้าวในประเทศและข้าวนำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์สองชนิดที่แตกต่างกัน และมีเป้าหมายกลุ่มตลาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยข้าวนำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาต่ำกว่าข้าวอิหร่านมาก สามารถตอบสนอง
ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย และกลุ่มคนชั้นกลาง ดังนั้น กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในสังคมจึงนิยมบริโภคข้าวนำเข้า ในทางกลับกันการจำกัดการนำเข้าจะทำให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น และไม่สามารถควบคุมได้เหมือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยซื้อข้าวได้น้อยลง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เนื่องจาก
ข้าวถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานที่สำคัญของชาวอิหร่าน นอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าข้าว เนื่องจากการห้ามนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งและชายแดนทางภาคใต้ของประเทศที่บริโภคข้าวนำเข้า ขณะที่สมาชิกผู้แทนราษฎรของจังหวัดทางภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหลักของประเทศไม่เห็นด้วยต่อการอนุญาตนำเข้าข้าว เนื่องจากภายในประเทศยังมีข้าวเหลือในสต็อกอีกเป็นจำนวนมาก
ที่มา กรมส่งเสริมการส่งออกระหว่างประเทศ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.21 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 8.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 285.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,832.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 291.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,818.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 14.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 426.00 เซนต์ (5,846.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 424.00 เซนต์ (5,697.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 149.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว
และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนพฤศจิกายน 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.62 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมันสำปะหลังมีคุณภาพ ส่งผลให้ความต้องการของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.06 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.98
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.45 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.73 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.89
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.53 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.38
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.32 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 215.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,450 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 227.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,700 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.07
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 471.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,280 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 480.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,300 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 1.88
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.113 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.200 ล้านตันของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 7.82 และร้อยละ 7.50 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.64 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 42.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.15 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.24
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ในเดือนตุลาคม อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากเดือนกันยายน อยู่ที่ 845,682 ตัน เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลและนำมาผลิตเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ข้อมูลจาก FAO พบว่า ดัชนีราคาอาหารเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ร้อยละ 2 เป็น 127.4 จุด โดยที่ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เนื่องจากความกังวลเรื่องผลผลิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,228.18 ริงกิตมาเลเซีย (41.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,992.72 ริงกิตมาเลเซีย (39.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.72
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- รัฐบาลอินเดียรายงานว่า โรงงานน้ำตาลจำนวน 203 โรงงาน ในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ได้ยื่นขอใบอนุญาตการเปิดหีบสำหรับฤดูการผลิตปี 2567/2568 อย่างไรก็ตาม จำนวนโรงงานน้ำตาลที่เปิดหีบจริงคาดว่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 208 โรง โดยคณะกรรมการน้ำตาลของอินเดีย (The Sugar Commissionerate)
ระบุว่า โรงงานน้ำตาลวางแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำตาลเป็น 1.13 ล้านตัน หลังจากนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลจำนวน 120,000 ตัน เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตที่ดี
- ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลหีบในเดือนมีนาคม 2568 สต็อกน้ำตาลในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะมีปริมาณต่ำลง เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2 - 3 ล้านตัน จากผลกระทบของภัยแล้ง ด้านมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (Universidade de Sao Paulo: USP) รายงานว่า
จะมีฝนตกในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) และคาดว่าจะตกอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายสัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลผลิตอ้อย ในปี 2568/2569 ในขณะที่นักวิจัยกล่าวเตือนว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมศัตรูพืช เนื่องจากไฟป่าทำลายแมลงและความต้านทานทางชีวภาพ
- รัฐบาลอินโดนีเซียรายงานว่า ในปี 2567 อินโดนีเซียสามารถผลิตน้ำตาลได้ที่ 2.46 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในจำนวนนี้กลุ่ม PTPN (PT Perkebunan Nusantara III) สามารถผลิตน้ำตาลได้ที่ 851,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 โดยคาดการณ์ว่าสภาพอากาศในปี 2568 จะเอื้ออำนวยต่อ
การเพาะปลูกมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น ในขณะที่น้ำตาลทรายดิบที่นำเข้าจากประเทศไทยโดยบริษัท PT Muria Sumba Manis จำนวน 28,600 ตัน ได้ขนส่งมาถึงที่เขตปกครองซุมบาตะวันออก (East Sumba) เรียบร้อยแล้ว
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- รัฐบาลอินเดียรายงานว่า โรงงานน้ำตาลจำนวน 203 โรงงาน ในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ได้ยื่นขอใบอนุญาตการเปิดหีบสำหรับฤดูการผลิตปี 2567/2568 อย่างไรก็ตาม จำนวนโรงงานน้ำตาลที่เปิดหีบจริงคาดว่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 208 โรง โดยคณะกรรมการน้ำตาลของอินเดีย (The Sugar Commissionerate)
ระบุว่า โรงงานน้ำตาลวางแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำตาลเป็น 1.13 ล้านตัน หลังจากนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลจำนวน 120,000 ตัน เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตที่ดี
- ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลหีบในเดือนมีนาคม 2568 สต็อกน้ำตาลในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะมีปริมาณต่ำลง เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2 - 3 ล้านตัน จากผลกระทบของภัยแล้ง ด้านมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (Universidade de Sao Paulo: USP) รายงานว่า
จะมีฝนตกในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) และคาดว่าจะตกอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายสัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลผลิตอ้อย ในปี 2568/2569 ในขณะที่นักวิจัยกล่าวเตือนว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมศัตรูพืช เนื่องจากไฟป่าทำลายแมลงและความต้านทานทางชีวภาพ
- รัฐบาลอินโดนีเซียรายงานว่า ในปี 2567 อินโดนีเซียสามารถผลิตน้ำตาลได้ที่ 2.46 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในจำนวนนี้กลุ่ม PTPN (PT Perkebunan Nusantara III) สามารถผลิตน้ำตาลได้ที่ 851,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 โดยคาดการณ์ว่าสภาพอากาศในปี 2568 จะเอื้ออำนวยต่อ
การเพาะปลูกมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น ในขณะที่น้ำตาลทรายดิบที่นำเข้าจากประเทศไทยโดยบริษัท PT Muria Sumba Manis จำนวน 28,600 ตัน ได้ขนส่งมาถึงที่เขตปกครองซุมบาตะวันออก (East Sumba) เรียบร้อยแล้ว
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,000.64 เซนต์ (12.83 บาท/กก.) ลดลงขึ้นจากบุชเชลละ 1,001.44 เซนต์ (12.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 291.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 298.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 35.28 เซนต์ (35.28 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 46.73 เซนต์ (35.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,000.64 เซนต์ (12.83 บาท/กก.) ลดลงขึ้นจากบุชเชลละ 1,001.44 เซนต์ (12.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 291.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 298.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 35.28 เซนต์ (35.28 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 46.73 เซนต์ (35.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 สัปดาห์ก่อนร้อยละ 26.67
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1039.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 813.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 830.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,486.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.24 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,517.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก. ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 979.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 895.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 914.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.63 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.95 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,180 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.15
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,634 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.92
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.56 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.02 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.67 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจาก และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 372 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 414 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 389 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 461 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.64 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.00 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.04 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.24 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.56 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.02 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.67 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจาก และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 372 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 414 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 389 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 461 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.64 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.00 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.04 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.24 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 – 17 พฤศจิกายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.34 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.77 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 158.33 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 – 17 พฤศจิกายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.34 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.77 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 158.33 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา